บทความวิชาการ
ทิศทางการศึกษาและพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันในระดับเซลล์ (Trend in cancer immunotherapy research and development)
ชื่อบทความ ทิศทางการศึกษาและพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันในระดับเซลล์ (Trend in cancer immunotherapy research and development)
ผู้เขียนบทความ เภสัชกรหญิง ดร.ภัทรวดี ศรีคุณ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-1-000-005-03-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 31 มี.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 30 มี.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
มะเร็ง เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์การเสียชีวิตของผู้ป่วยสูงทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดสยผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นในประเทศไทยมีสูงถึง 100,000 รายต่อปีและมีผู้เสียชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของผุ้ป่วยทั้งหมด ส่งผลให้เกิดความเสียหายมากมายทั้งด้านสุขภาพ ระบบสาธารณสุข สังคมและเศรษฐกิจ โดยคิดเป็นมูลค่ากว่าล้านล้านบาท วิธีการรักษาที่มีในปัจจุบัน ยังคงมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอต่อการรักษาให้หายขาดและลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้เป็นที่น่าพอใจ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา คิดค้นแนวทางหรือวิธีการรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้ดียิ่งขึ้น วิธีการรักษาด้วยการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันในระดับเซลล์ (Cellular immunotherapy) เป็นเป้าหมายหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมากในการคิดค้นและพัฒนาเพื่อประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง เซลล์ภูมิคุ้มกันที่ได้รับการศึกษาทางคลินิคอันได้แก่ chimeric antigen receptor (CAR) T cells ที่ใช้ได้ผลในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซท์แบบเรื้อรังชนิดบีเซลล์ (B-cell leukemia) และผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) พร้อมกันนั้น เซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดอื่นๆ อาธิเช่น γδ T cells, dendritic cells (DC) และ natural killer (NK) cells ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาในห้องทดลองและศึกษาในโรคมะเร็งหลายชนิด ทิศทางการศึกษาและพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันในระดับเซลล์นี้ จึงเป็นความหวังที่เป็นไปได้ของวิธีการรักษาโรคมะเร็งในอนาคตอันใกล้นี้
คำสำคัญ
มะเร็ง, การฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน, immunotherapy