บทความวิชาการ
(วารสารยาน่ารู้) ผลกระทบของการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (Trans-Pacific Partnership: TPP) ต่อการเข้าถึงยาในไทย(The impact of joining TPP on access to medicine in Thailand)
ชื่อบทความ (วารสารยาน่ารู้) ผลกระทบของการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (Trans-Pacific Partnership: TPP) ต่อการเข้าถึงยาในไทย(The impact of joining TPP on access to medicine in Thailand)
ผู้เขียนบทความ ภญ.ดร..สินีนาฏ กริชชาญชัย
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-1-000-001-01-2560
ผู้ผลิตบทความ เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ม.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 31 ธ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค(TPP) เป็นความตกลงพหุภาคีที่เกิดขึ้นใหม่ โดยจุดประสงค์ความตกลงTPP นั้นมุ่งเน้นที่จะเป็นเขตการค้าเสรีที่มีประเทศสมาชิกจำนวนมากและมีมาตรฐานสูงสำหรับข้อตกลงการค้าในศตวรรษที่ 21อย่างไรก็ตามพบว่าความตกลงTPP นั้นกว้างไปมากกว่าแค่เรื่องการค้าและการลงทุนเนื่องจากความตกลงทางเศรษฐกิจนี้ยังครอบคลุมไปถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยด้านอาหารนโยบายการแข่งขันและรวมไปถึงประเด็นที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ถึงแม้ว่าการเปิดกว้างทางตลาดและนโยบายลดภาษีอาจจะทำให้ลดราคายาที่นำเข้าสู่ประเทศ แต่ว่าผลกระทบในการคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดมากขึ้นจากข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาTRIPS (Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights) ที่จัดทำโดยองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นTRIPS-plus อาจจะส่งผลเสียต่อประเทศที่กำลังพัฒนาที่สนใจจะเข้าร่วมความตกลงอันนี้ ในแง่ของการขยายขอบเขตการจดทะเบียนสิทธิบัตรให้ครอบคลุมถึงยาที่มีรูปแบบใหม่ หรือข้อบ่งใช้ใหม่สามารถนำมาจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ การขยายเวลาของสิทธิบัตรกรณีเกิดความล่าช้าในกระบวนการจดทะเบียน การให้ความคุ้มครองข้อมูลทางคลินิกซึ่งจะส่งผลต่อการกีดกันการเข้าสู่ตลาดของยาสามัญ นอกจากนี้ยังมีข้อตกลงในบทอื่นๆ เช่น มาตรการการลงทุน มาตรการจุดผ่านแดน ที่ทำให้ลดความยืดหยุ่นเดิมที่ TRIPS เคยระบุไว้ ยิ่งไปกว่านั้นความตกลงTPP เอื้อประโยชน์แก่บริษัทยาต่างชาติในการที่จะทำการฟ้องรัฐโดยการใช้กลไกลการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน จึงเป็นประเด็นที่ประเทศไทยจะต้องคำนึงถึงก่อนที่จะตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค
คำสำคัญ
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. สามารถอธิบายบทบาทและความสำคัญของความตกลงTPP 2. สามารถอธิบายความแตกต่างร