บทความวิชาการ
โคลซาปีนกับการเกิดกลุ่มอาการระยะคิวทียาว
ชื่อบทความ โคลซาปีนกับการเกิดกลุ่มอาการระยะคิวทียาว
ผู้เขียนบทความ ภก.นิติ วรรณทอง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-1-000-004-12-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 29 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 28 ธ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
Clozapine เป็นกลุ่มยาต้านโรคจิตกลุ่มใหม่ (second generation antipsychotic) ซึ่งสามารถทำให้เกิด QT prolongation ซึ่งทำให้เกิด QTc เพิ่มขึ้นจากเดิม 10 msec โดย QT prolongation สามารถนำไปสู่ Torsade’s de pointes(TdP) และการเสียชีวิตเฉียบพลัน ผลของยาที่ทำให้เกิด QT prolongation จัดเป็นสัมพันธ์กับขนาดยา Clozapine จัดเป็นอาการไม่เพียงประสงค์ที่เกิดยา ชนิด A (ADR type A) ระยะเวลาที่ทำให้เกิด QT prolongation โดยสามารถขึ้นภายในสัปดาห์ถึงเดือนแรกของการรักษาและ อาจใช้เวลาเป็นปี และในกรณีที่มีการ rechallenge Clozapine อาจเกิด QT prolongation ขึ้นได้ภายในสัปดาห์ การจัดการ QT prolongation ที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิด QT prolongation โดยพิจารณาให้มีการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่ก่อนเริ่มให้ยา โดยวัดค่า QTc หลังจากนั้นให้ติดตามทุก 1 ปีเป็นอย่างน้อย และ กำจัดสาเหตุ หรือ ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขได้ เช่น ยาอื่นที่มีความเสี่ยงสูงในเสริมการเกิด QT prolongation การเสียสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย เช่น โปแตสเซียมสูงในเลือดต่ำ แมกนีเซียมในเลือดต่ำ และ แคลเซียมในเลือดต่ำ และภาวะไทรอยด์ต่ำในเลือด
คำสำคัญ
โคลซาปีน,ยาต้านโรคจิต,กลุ่มอาการระยะคิวทียาว,Torsade’s de pointes,โรคใหลตาย