บทความวิชาการ
การจัดการกับโรคคออักเสบเฉียบพลัน
ชื่อบทความ การจัดการกับโรคคออักเสบเฉียบพลัน
ผู้เขียนบทความ ภก.นิติ วรรณทอง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-1-000-003-12-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 29 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 28 ธ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคคออักเสบเฉียบพลันเกิดจากเยื่อบุภายในคออักเสบทำให้มีอาการเจ็บคอ สามารถแบ่งสาเหตุออกเป็น 2 ประเภทหลักๆคือ 1. เกิดจากการติดเชื้อโดยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส รองลงมา คือ เชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Group A streptococcus (GAS) 2.สาเหตุอื่นที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่มือสอง โรคกรดไหลย้อน สารก่อภูมิแพ้ และอากาศที่เย็นชื้น โดยโรคคออักเสบที่เกิดจาก Group A streptococcus (GAS) การที่ใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อหวังลดระยะเวลา, ความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการวินิจฉัยโรคและแยกสาเหตุออกให้ได้ การรักษาโรคคออักเสบแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1.การใช้ยารักษาตามอาการเป็นยาใช้เฉพาะที่ เช่น ลูกอมแก้เจ็บ,ยาพ่นคอ นอกจากนี้ยังมีการใช้ serratiopeptidase, NSAIDs ,corticosteroids และสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ในกรณีไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อให้รักษาตามโรคนั้น 2. การรักษาการติดเชื้อ Group A streptococcus (GAS) โดยพบว่า penicillin V เป็นยาที่แนะนำให้ใช้เป็นอันดับแรก และในทวีปเอเชียมีอัตราเชื้อดื้อยากลุ่ม macrolides ในการติดเชื้อทางเดินหายใจค่อนข้างมาก ดังนั้นการเลือกใช้ยาจึงควรคำนึงถึงพื้นที่ระบาดและเงื่อนไขของผู้ป่วย เช่น การแพ้ penicillin แบบภาวะภูมิแพ้หรือภาวะภูมิไวเกิน ชนิดที่ 1 (Type 1 hypersensitivity) หรือ อันตรายถึงชีวิต
คำสำคัญ
โรคคออักเสบเฉียบพลัน, การติดเชื้อทางเดินหายใจ, Group A streptococcus (GAS), Serratiopeptidase, NSAID