บทความวิชาการ
กลไกการออกฤทธิ์ของสุคนธบำบัดต่อระบบประสาทส่วนกลาง
ชื่อบทความ กลไกการออกฤทธิ์ของสุคนธบำบัดต่อระบบประสาทส่วนกลาง
ผู้เขียนบทความ อุทัย โสธนะพันธุ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-1-000-004-12-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 30 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 29 ธ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
สุคนธบำบัดคือศาสตร์การบำบัดโดยการใช้น้ำมันหอมระเหย กลไกการออกฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยต่อระบบประสาทส่วนกลางประกอบด้วย (1) กลไกทางเภสัชวิทยา และ (2) กลไกทางจิตวิทยา น้ำมันหอมระเหยมีผลต่อการทำงานของระบบของสารสื่อประสาท น้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ทำให้สงบจะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบ glutamatergic กระตุ้นการทำงานของระบบ GABAergic, dopaminergic, serotonergic และ cholinergic น้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์กระตุ้นจะยับยั้งการทำงานของระบบ GABAergic กลไกการออกฤทธิ์ทางจิตวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจะเกี่ยวข้องกับ limbic system เป็นการตอบสนองที่เกิดจากการแปลความหมายของกลิ่นและความรู้สึกพึงพอใจ แล้วแสดงผลโดยผ่าน hypothalamic-pituitary-adrenal axis การออกฤทธิ์โดยรวมของน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง ๆ จะเกิดจากผลรวมของทั้งกลไกทางเภสัชวิทยาและกลไกทางจิตวิทยา
คำสำคัญ
สุคนธบำบัด, น้ำมันหอมระเหย, กลไกการออกฤทธิ์, ระบบประสาทส่วนกลาง