บทความวิชาการ
การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสาหรับ กลุ่มชายรักชาย (Pre-exposure prophylaxis against HIV infection (PrEP) for men who have sex with men (MSM))
ชื่อบทความ การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสาหรับ กลุ่มชายรักชาย (Pre-exposure prophylaxis against HIV infection (PrEP) for men who have sex with men (MSM))
ผู้เขียนบทความ ภก.จิรวิชญ์ ยาดี, อ.ภญ.จตุพร สุวรรณกิจ, นายเวโรจน์ เหล่าโภคิน, และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-1-000-004-12-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 19 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 18 ธ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ในปี พ.ศ.2557 มีคาแนะนาในการใช้ยาตามแนวทางของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคประเทศสหรัฐอเมริกา (Centers of Disease Control and prevention; CDC) เกี่ยวกับการบริหารยาเม็ดรวมระหว่าง Tenofovir disoproxil fumarate ขนาด 300 มิลลิกรัม กับยา Emtricitabine ขนาด 200 มิลลิกรัม (TDF/FTC) ที่ต้องรับประทานวันละ 1 เม็ด ตลอดช่วงเวลาที่มีการสัมผัสที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (pre-exposure prophylaxis; PrEP) ซึ่งมีผลการศึกษา iPrEx ที่พบว่าวิธีการนี้ลดอุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีได้ร้อยละ 44 ต่อมาจึงมีการศึกษา iPERGAY ที่แก้ปัญหาความร่วมมือในการใช้ยารูปแบบ PrEP เป็นรูปแบบ on-demand สาหรับกลุ่มประชากรชายรักชายที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก และไม่นิยมการใช้ถุงยางอนามัย โดยให้รับประทานยา TDF/FTC พร้อมอาหาร 2 เม็ด ก่อนมีเพศสัมพันธ์ 2 - 24 ชั่วโมง จากนั้นให้รับประทานยาหลังมีเพศสัมพันธ์อีก 2 เม็ด โดยยาเม็ดที่ 3 รับประทานที่ 24 ชั่วโมงหลังจากยาสองเม็ดแรก และยาเม็ดที่ 4 รับประทานในอีก 24 ชั่วโมงถัดมา ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์หลายครั้งติดต่อกันจะให้รับประทานยาต่อเนื่องวันละ 1 เม็ดในช่วงที่มีเพศสัมพันธ์ จากนั้นให้รับประทานยาอีก 2 เม็ดหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในกลุ่มผู้ที่ได้รับยา TDF/FTC ตามคาแนะนาข้างต้นสามารถลดอุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีได้ร้อยละ 86 (ร้อยละ 95 ช่วงความเชื่อมั่น, 40-98; p=0.002) จากผลการศึกษาต่าง ๆ ที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าการใช้ PrEP เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี แต่ขึ้นอยู่กับความร่วมมือในการใช้ยาในรูปแบบ PrEP ของผู้ที่ใช้เป็นหลัก หากมีความร่วมมือในการการใช้ยาต่าอาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และหากผู้ใช้ยานั้นติดเชื้อเอชไอวีอาจทาให้เกิดปัญหาเชื้อเอชไอวีดื้อยา และจะส่งผลต่อการเลือกใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในอนาคต
คำสำคัญ
PrEP