บทความวิชาการ
เมแทบอลิซึมของยาในผิวหนัง วิธีการศึกษาวิจัยที่ทำนอกร่างกาย และผลต่อการบริหารยาทางผิวหนัง
ชื่อบทความ เมแทบอลิซึมของยาในผิวหนัง วิธีการศึกษาวิจัยที่ทำนอกร่างกาย และผลต่อการบริหารยาทางผิวหนัง
ผู้เขียนบทความ รองศาสตรจารย์ ดร ภก.ธีระ ฤทธิรอด, และ นศ.ภ.พลัง รังษา
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-1-000-002-12-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 21 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 20 ธ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
เมแทบอลิซึม(metabolism) เป็นกลไกสำคัญของร่างกายที่จะกำจัดยา สารพิษหรือสิ่งแปลกปลอม (xenobiotic) ออกจากร่างกาย แม้ว่าเมแทบอลิซึมของยาในคนเกิดที่ตับเป็นส่วนใหญ่ แต่อวัยวะหรือเนื้อเยื่ออื่น (extra hepatic tissue) เช่น สมอง ไต และผิวหนังจะสามารถเมแทบอไลต์ยาและสารเคมีได้เช่นกัน1-3 ในอดีตนักวิทยาศาสตร์คิดว่าผิวหนังเป็นเพียงอวัยวะเฉื่อย ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ทำให้ผลของเมแทบอลิซึมต่อยาที่ให้ทางผิวหนังถูกละเลย แต่ในปัจจุบันยอมรับกันว่าในแต่ละชั้นของผิวหนังมีเซลล์ต่างๆ หลายแบบ ที่มีการเจริญเติบโตและเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีอย่างมาก เกิดเมแทบอลิซึมของชีววัตถุในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน สเตียรอยด์ ยาทาต้านการอักเสบ รวมทั้งสารเคมีอื่นๆ จากภายนอกร่างกาย ผิวหนังเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการบริหารยา โดยทายาที่ผิวหนังเพื่อรักษาโรคผิวหนัง หรือบริหารยาในรูปของระบบนำส่งยาผ่านผิวหนัง (transdermal drug delivery system) เพื่อให้ยาถูกดูดเข้าสู่กระแสโลหิตและออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย แต่สิ่งที่ขัดขวางการซึมผ่านผิวหนังคือ ความเป็นผนังกั้นของผิวหนังชั้น stratum corneum นักวิจัยทางเภสัชศาสตร์พยายามเพิ่มการซึมผ่านของยาโดยวิธีต่างๆ กัน เช่น ใช้กระแสไฟฟ้าต่ำๆ (iontophoresis)4,5 การใช้คลื่นอัลตราโซนิก (phonophoresis)6 การใช้สารเร่งการซึมผ่าน(penetration enhancer)8,9 โดยที่บรรพเภสัช (prodrug) ต้องอาศัยการเกิดเมแทบอลิซึมในผิวหนังเพื่อเปลี่ยนเป็นยามีฤทธิ์ (active form) และออกฤทธิ์ต่อไป บทความนี้กล่าวถึง ส่วนประกอบของผิวหนังโดยละเอียด กระบวนการดูดซึมและการเกิดเมแทบอลิซึมของยาในผิวหนัง รวมทั้งวิธีการศึกษากระบวนการดังกล่าวในการทดลองนอกร่างกายและข้อดี ข้อเสีย ของการเกิดเมแทบอลิซึมของยาในผิวหนัง
คำสำคัญ
เมแทบอลิซึมของยา, การบริหารยาทางผิวหนัง, Skin Metabolism