บทความวิชาการ
การเสริมแมกนีเซียม
ชื่อบทความ การเสริมแมกนีเซียม
ผู้เขียนบทความ ภญ.ดร. อรนิภา วงศ์สีลโชติ และ ภญ. วิชญาภา จงพล
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รหัสกิจกรรม 1013-1-000-002-09-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 23 ก.ย. 2559
วันที่หมดอายุ 22 ก.ย. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
แมกนีเซียมเป็น cofactor ร่วมกับ enzyme ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยามากกว่า 300 ชนิดในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสร้างพลังงานจาก ATP จึงจำเป็นในกระบวนการต่างๆของร่างกายมากมาย แมกนีเซียมมีบทบาทในการเป็น calcium channel blocker ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดดำและแดง จึงลดความดันโลหิตได้ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ ลดความเสี่ยงการเกิด Metabolic syndrome ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ป้องกันการเกิดไมเกรน ปัจจุบัน ผู้คนจำนวนมากบริโภคผักสีเขียวเข้มและถั่วน้อย บริโภคแต่ข้าวขาวแป้งขาว ทำให้ได้รับแมกนีเซียมในปริมาณต่ำ ประกอบกับความเครียดที่เพิ่มมากขึ้นในสังคม ทำให้ร่างกายต้องการแมกนีเซียมเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยที่ใช้ยาบางอย่างเช่น ยาขับปัสสาวะอาจ สูญเสียแมกนีเซียม ดังนั้นการเสริมแมกนีเซียมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค การลดความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการเสริมแมกนีเซียม ไม่ควรใช้เกลือแมกนีเซียมฟอสเฟตซึ่งไม่ดูดซึม ควรระวังการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคไต หัวใจเต้นช้า และ/หรือกำลังใช้ยาลดการแข็งตัวของเลือดอยู่
คำสำคัญ
แมกนีเซียม โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน มะเร็ง ไมเกรน Magnesium, Stroke, Diabetes mellitus type2, Cancer
วิธีสมัครสมาชิก
สามารถสมัครสมาชิกหน่วยการศึกษาต่อเนื่องมหาวิทยาลัยหัวเฉียว ตามลิงค์นี้ https://goo.gl/forms/Yx6JKqePHxUZGuPs1